วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

13: คำคม..ของปราชญ์ขงจื้อ

คำคม..ของปราชญ์ขงจื้อ(ยุคเดียวกับสมเด็จฯพระองค์ปัจจุบัน)สอนไว้ว่า...
@ เมื่อยากจนก็ยังชื่นชมในคุณธรรม เมื่อมั่งมี ก็ยังชื่นชมในมารยาทจริยธรรม

@ ไม่ต้องเป็นห่วงคนอื่นที่ไม่เข้าใจเรา แต่ต้องเป็นห่วงว่าเรา ไม่เข้าใจคนอื่น
@ การศึกษา ค้นคว้า ถ้าเอนเอียงไปสุดสายไม่ว่าข้างใดข้างหนึ่ง ก็มีแต่ผลเสียเท่านั้น
@ การที่ยอมรับว่าไม่รู้นั้น ก็คือความที่รู้แล้ว
@ บัณฑิตคิดถึงว่า ทำอย่างไรจะเพิ่มพูนคุณธรรมของตนได้
คนพาลคิดถึงว่า ทำอย่างไรจึงจะเห็นความเป็นอยู่ของตนสะดวกสบายขึ้น โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
@ บัณฑิตรู้เฉพาะเรื่อง ที่ชอบด้วยคุณธรรม คนพาลรู้เฉพาะเรื่องที่ได้ผลกำไร โดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม
@ ความผิดอันเนื่องมาจากการประหยัดนั้น มีน้อยเหลือเกิน
@ ผู้ที่คุณธรรมย่อมไม่ถูกทอดทิ้งโดยโดดเดี่ยว และจะต้องมีเพื่อนบ้านมาคบหา
@ บัณฑิตมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รับใช้ราษฎรด้วยสติปัญญา มีความเอื้ออาทร ใช้ราษฎรโดยชอบด้วยเหตุผล
@ ไม่คิดถึงความชั่วของคนอื่นในอดีตกาล จึงมีคนโกรธท่านน้อย
@ จงเป็นนักศึกษาในแบบบัณฑิต อย่าเป็นนักศึกษาในแบบคนพาล
@ ตั้งใจมุ่งมั่นอยู่กับคุณธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมไม่ละทิ้งความเมตตาธรรม ท่องเที่ยวไปในศิลปะวิชาการ
@ สุรุ่ยสุร่ายเกินไปก็จะอวดหยิ่ง ประหยัดเกินไปก็จะเป็นคนคับแคบ แต่เป็นคนอวดหยิ่งสู้เป็นคนคับแคบดีกว่า
@ บัณฑิตย่อมมีจิตใจกว้างขวางราบรื่น คนพาลย่อมมีความกลัดกลุ้มอึดอัดตลอดเวลา
@ อ่อนน้อมแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นเรื่องเหนื่อยเปล่า ระมัดระวังแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นความขลาดกลัว
@ กล้าหาญแต่ไม่มีจริยธรรม จะกลายเป็นก่อการร้าย ซื่อตรงแต่ไม่มีจริยธรรม จะเป็นภัยแก่คนอื่น
@ ยังปรนนิบัติคนที่มีชีวิตไม่เป็น จะปรนนิบัติเซ่นไหว้เทพเจ้ากับผีได้อย่างไรเล่า
@ บัณฑิตมีความสามัคคีต่อกัน แต่ความคิดกับการกระทำไม่เหมือนกัน
คนพาลมีความคิดกับการกระทำเหมือนกัน แต่ไม่มีความสามัคคี
@ ปรนนิบัติบัณฑิตเป็นเรื่องง่าย แต่ทำให้บัณฑิตรักเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะว่าถ้าไม่ชอบด้วยลักษณะธรรมบัณฑิตก็ไม่รัก
@ ต่างตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน อยู่กันด้วยความสามัคคี เรียกว่าเป็นนักศึกษาได้
@ ในระหว่างเป็นเพื่อนกันต้อง ตักเตือนให้กำลังใจกันและกัน ในระหว่างพี่น้องต้องสามัคคีกัน
@ เมื่อรักเขาจะไม่ให้กำลังใจเขาได้หรือ เมื่อซื่อสัตย์ต่อเขาจะไม่ตักเตือนสั่งสอนเขาได้หรือ
@ บัณฑิตย่อมมีความอับอายที่พูดไปแล้วนั้น เกินกว่าที่ทำไป
@ ปราชญ์ย่อมหลีกเลี่ยงสังคมที่เลวร้าย สถานที่เลวร้าย มารยาทที่เลวร้าย และวาจาที่เลวร้าย
@ ผู้ที่ไม่มีการไตร่ตรองให้ยาว ในอนาคตไกลจะต้องมีภัยที่เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน
@ ตำหนิตนเองให้มาก ตำหนิผู้อื่นให้น้อย ก็จะไม่มีใครโกรธแค้น
@ รวมอยู่กันเป็นหมู่ ตลอดวันไม่เคยพูดถึงธรรมที่ชอบ ทำตนเป็นคนฉลาดในเรื่องเล็กๆน้อย ต่อไปเห็นจะลำบาก
@ บัณฑิตขอร้องกับตนเอง ส่วนคนพาลนั้นจะขอร้องกับคนผู้อื่น
@ บัณฑิตทีความภาคภูมิใจในตนเอง โดยไม่แย่งชิงความภาคภูมิใจของคนอื่น บัณฑิตมีความสามัคคี แต่ไม่เล่นพวกกัน
@ พูดไพเราะตลบแตลงทำให้สูญเสียคุณธรรม เรื่องเล็กไม่อดกลั้นไว้จะทำให้แผนเรื่องใหญ่เสีย
@ ทุกคนเกลียดก็ต้องพิจารณา ทุกคนรักก็ต้องพิจารณา
@ เพื่อนที่ซื่อตรง เพื่อนที่มีความชอบธรรม เพื่อนที่มีความรู้ ทั้ง 3 ประเภทนี้มีประโยชน์แก่เรา
@ เพื่อนที่ประจบสอพลอ เพื่อนที่ทำอ่อนน้อมเอาใจ เพื่อนที่ชอบเถียงโดยไม่มีความรู้ ทั้ง 3 ประการนี้เป็ยภัยแก่เรา
@ บัณฑิตมีความกลัวอยู่ 3 ประการ กลัวประกาศิตของสวรรค์ กลัวผู้มีอำนาจ กลัวคำพูดของอริยบุคคล
@ นิสัยคนมีความเหมือนกัน แต่การศึกษาทำให้แตกต่างกัน
@ เฉพาะคนที่มีปัญญาสูง กับคนที่โง่มากเท่านั้น ที่ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงเขาได้
@ รักความเมตตาแต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่ถูกหลอกลวงง่าย รักความรู้แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่ความรู้นั้นกระจัดกระจายไม่มีฐานที่ตั้ง
@ รักความซื่อสัตย์ แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่เป็นภัยแก่ตนโดยง่าย รักพูดตรงความจริง แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่การพูดจะเป็นการทำร้ายผู้อื่นได้โดยง่าย
@ รักความกล้าหาญ แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่ก่อความไม่สงบได้ง่าย รักความเข้มแข็ง แต่ไม่มีการศึกษา เสียอยู่ที่เป็นคนมุทะลุได้ง่าย
@ อ่านหนังสือโดยไม่ค้นคิด การอ่านจะไม่ได้อะไร ค้นคิดโดยไม่ได้อ่านหนังสือ การค้นคิดจะเปล่าประโยชน์
@ ทบทวนเรื่องเก่าและรู้เรื่องใหม่ขึ้นมาอีก ก็จะเป็นครูได้
@ นักศึกษาสมัยก่อน ศึกษาเพื่อให้ตนมีความสำเร็จในการศึกษา นักศึกษาในปัจจุบัน ศึกษาเพื่อให้คนอื่นรู้ว่าตนเองมีการศึกษา
@ ชอบเอาสองคนมาเทียบว่าใครดีกว่าใคร เธอเองเก่งพอแล้วหรือ สำหรับเราไม่มีเวลาว่างมาทำเช่นนั้น
@ แสร้งพูดไพเราะ แสดงความน่ารัก เพื่อให้ถูกใจคน คนประเภทนี้น้อยนักที่จะเป็นคนมีเมตตาธรรม
@ ผู้ที่มีเมตตาธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถรักคนด้วยความจริงใจ และจึงสามารถเกลียดคนด้วยความจริงใจ
@ ผู้มีปัญญาชื่นชมน้ำ เป็นผู้ขยัน ผู้มีความสุข ผู้มีเมตตา ชื่นชมภูเขา เป็นผู้รักสงบ เป็นผู้มีอายุยืน
@ ผู้ที่มีเมตตาธรรมเท่านั้น เวลาพูด เขาพูดอย่างเชื่องช้า ไม่พูดเชื่องช้าได้หรือ เพราะเมื่อพูดไปแล้ว ต้องทำตามที่พูดด้วยความลำบาก
@ ผู้ที่มีความเข้มแข็ง กล้าหาญ ซื่อสัตย์ พูดช้าก็ใกล้กับความมีเมตตาธรรมแล้ว
@ ผู้มีคุณธรรมต้องมีคำพูดที่ดี แต่ผู้มีคำพูดที่ดี ไม่ต้องใช่เป็นคนที่มีคุณธรรมเสมอไป
@ ผู้มีเมตตาธรรมต้องเป็นผู้ที่กล้าหาญ แต่ผู้กล้าหาญ ไม่ใช่ต้องเป็นคนที่มีเมตตาธรรมเสมอไป
@ เลี้ยงดูพ่อแม่ให้มีชีวิตอยู่ได้เท่านั้นนะหรือ ถ้าเช่นนั้น หมากับม้าก็ได้รับการเลี้ยงดูให้มีชีวิตอยู่เช่นกัน
@ บัณฑิตให้ความเมตตากรุณาแก่ผู้อื่น
ใช้คนทำงานแต่คนไม่โกรธแค้น
ความต้องการของเขาไม่เป็นความโลภ
มีความสงบแต่ไม่มีความเย่อหยิ่ง
มีความสง่าแต่ไม่มีความโหดเหี้ยม
@ ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน
@ จงเป็นผู้ให้มากกว่ารับ แล้วจะได้รับมากกว่าให้