หลวงตาประสงค์ ปริปุณฺโณ ได้ให้พร 3 ประการ ดังนี้
1. ขอให้ไม่มีอนาคต
2. ขอให้หมดเนื้อหมดตัว
3. ขอให้อย่าได้ผุดได้เกิด
บางคนเมื่อได้ฟังเผินๆแล้วคิดไปตามความเคยชินว่าเป็นคำแช่งด่า
แต่ถ้าลองพิจารณาความหมายให้ดีแล้วจะพบว่าเป็นคำอวยพรที่สุดแสนจะประเสริฐ
ความหมายของพรแต่ละข้อมีดังนี้
1. ขอให้ไม่มีอนาคต คือ
ให้มีสติรู้อยู่กับปัจจุบันขณะ ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
ไม่ไปวุ่นวายกับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง และ อดีตที่ผ่านไปแล้ว
การมีสติยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าถึงธรรมอีกด้วย (หมายเหตุ:
การปล่อยวางเป็นเรื่องภายในใจ ส่วนเรื่องภายนอกอันได้แก่หน้าที่นั้นต้องรับผิดชอบ
ไม่ว่างานที่ยังคั่งค้างจากอดีต หรือการวางแผนงานในอนาคต
ต้องลงมือทำให้ดีที่สุดด้วยใจที่จดจ่อกับงานตรงหน้าในปัจจุบัน
เมื่อมีปัญหาเข้ามาก็ต้องแก้ไขหรือหาทางป้องกันอย่างเต็มความสามารถ
แต่จะสำเร็จหรือไม่ ใจก็ต้องปล่อยวางให้ได้อย่างเต็มที่เช่นกัน)
2. ขอให้หมดเนื้อหมดตัว คือสามารถละความยึดมั่นใน ความเป็นตัวกูของกู หรือความยึดติดในขันธ์ 5 ซึ่งประกอบด้วย
2. ขอให้หมดเนื้อหมดตัว คือสามารถละความยึดมั่นใน ความเป็นตัวกูของกู หรือความยึดติดในขันธ์ 5 ซึ่งประกอบด้วย
1.รูป (corporeality;matter; form; material;
body) ได้แก่ส่วนประกอบฝ่ายรูปธรรมทั้งหมด
ร่างกายและพฤติกรรมทั้งหมดของร่างกาย หรือ สสารและพลังงานฝ่ายวัตถุ
2.เวทนา
(feeling; sensation) ได้แก่ความรู้สึกสุข
ทุกข์ หรือเฉยๆ
3.สัญญา
(perception) ได้แก่ความจำได้หมายรู้
4.สังขาร
(mental formations;
volitional activities) ได้แก่องค์ประกอบต่างๆของจิตอันมีเจตนาเป็นตัวนำเช่น
การคิดนึกปรุงแต่ง
5.วิญญาณ
(consciousness) ความรับรู้ที่มากระทบทาง
ดา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ
คนทั่วไปหลงยึด ขันธ์ 5 เหล่านี้ว่าเป็นตัวกูของกู การเจริญสติเพื่อเห็นตามความเป็นจริง
จนสามารถละความเห็นผิดในขันธ์ทั้ง 5 จะนำไปสู่การบรรลุธรรมขั้นพระโสดาบันได้
3. ขอให้อย่าได้ผุดได้เกิด คือ
ขอให้ถึงพระนิพพาน ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก ภาวะของแห่งนิพพานเมื่อยังมีชีวิต
คือการรับรู้สิ่งต่างๆทั้งโลกและชีวิตอย่างถูกต้องตามความเป็นจริงของมัน
เป็นไปด้วยจิตใจที่เป็นอิสระจากความผลักดันบีบคั้นของความโลภ โกรธ หลง หลง คือ
ความไม่รู้สิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น จึงอยากได้อย่างเห็นแก่ตัวด้วยโลภะ
เมื่อขัดข้องหรือถูกขัดขวางและไม่มีปัญญารู้เท่าทัน
ก็เกิดโทสะความขัดใจและความคิดทำลาย ภาวะของแห่งนิพพานเมื่อสิ้นชีวิต
คือการที่ไม่อาจก่อชาติก่อภพขึ้นได้อีก
ไม่ว่าใครจะเชื่อในการเวียนว่ายตายเกิดหรือไม่ สิ่งใดที่เป็นความจริงก็ดำเนินไปตามธรรมชาติธรรมดาของมันโดยไม่ขึ้นกับความเชื่อของใคร ข้อปฎิบัติไปสู่ความดับทุกข์
คือ มรรคมีองค์ 8 (ทางสายเดียวที่มีองค์ประกอบ
8 อย่าง)
ซึ่งว่าโดยย่อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา