พระแก้วไพฑูรย์
เป็นพระแก้วเกิดจากหินธรรมชาติมีอายุหลายล้านปีมาแล้ว ใครจะเป็นผู้แกะหินเป็นพระพุทธรูปนั้นไม่ทราบแต่เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในการปกครองของเจ้านายเมืองอุบลมานานแต่บรรพบุรุษของพระปทุมวราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง)
ได้ถวายเป็นสมบัติของวัดหลวงคู่กับพระแก้วบุษราคัมเมื่อเจ้านายทางกรุงเทพมหานครมาปกครองเมืองอุบล ในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้านายพื้นเมืองอุบลราชธานีเกรงว่าเจ้านายทางกรุงเทพจะบังคับเอาพระแก้วทั้งสององค์ไปเป็นสมบัติของส่วนตัวจึงได้พากันเอาพระแก้วทั้งสององค์แบกออกจากกันไปซ่อนไว้โดยมิดชิดไม่ยอมแพร่งพรายให้คนทั่วไปรู้
ต่อมาเมื่อสร้างวัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง) โดยเจ้าอุปฮาชโท บิดาของพระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล)จึงได้ไปเชิญเอาพระแก้วทั้งสองออกมาจากที่ซ่อน สำหรับพระแก้วบุษราคัมนั้นได้ถวายแด่พระเดชพระคุณพระเทวธัมมี (ม้าว)ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม)และเป็นลัทธิวิหาริกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มาจากกรุงเทพคงจะมีความเกรงใจไม่กล้าที่จะขอเอาพระแก้วบุษราคัมพระแก้วไพฑูรย์ไปจากเมืองอุบลราชธานี
ส่วนพระแก้วไพฑูรย์นั้นทายากของเจ้านายพื้นเมืองอุบลราชธานีเอาไปเก็บรักษาไว้เพราะเป็นสมบัติอันล้ำค่าของบรรพบุรุษต่อมาภายหลังจึงได้นำมาถวายพระครูวิลาสกิจจาทรเจ้าอาวาสวัดหลวงให้เป็นสมบัติของวัดหลวงตามเดิม ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้นับว่าพระไพฑูรย์องค์นี้เป็นสมบัติของวัดหลวงและของเจ้านายเมืองอุบลราชธานีมาแต่โบราณโดยแท้
พระแก้วไพฑูรย์เป็นหนึ่งในแก้วอันเป็นรัตนชาติ คือ เพชรดี มณีแดง เขียวใสแสงมรกต เหลืองใสสดบุษราคัม แดงแก่กำโกเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาล มุดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์
หากจะยกองค์พระขึ้นส่องจะเห็นเป็นคล้ายสายฝนหยาดลงมาจากฟ้าอันเป็นนิมิตหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ฝนตกตามฤดูกาลของสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของเมืองอุบลราชนี้มีพระแก้วบุษราคัมพระแก้วไพฑูรย์ จึงได้พากันเอาไปซ่อนเสียโดยนำออกจากวัดหลวงไปในสมัยนั้นภายหลังทายาทเจ้าเมืองอุบลราชธานีเห็นว่าวัดหลวงไม่มีพระสำคัญจึงได้นำมาถวายให้เป็นสมบัติของวัดหลวงและเป็นของคู่บ้านคู่เมืองสืบไป พระแก้วไพฑูรย์จึงได้กลับมาประดิษฐานวัดหลวงตามเดิมดังที่เห็นอยู่ในขณะนี้
ที่มา : เวบไซด์ ไก้ด์อุบล