ท่าทางองค์หลวงปู่ฯ กำลังนั่งเหมือนท่าบริกรรม,เข้าฌาณสมาบัติหรือเหมือนชักรูปประคำ
โดยมีมือขวากำอยู่บนมือซ้าย ส่วนมือซ้ายนั้นกำอยู่ด้านล่างมือขวา
โดยมีมือขวากำอยู่บนมือซ้าย ส่วนมือซ้ายนั้นกำอยู่ด้านล่างมือขวา
หากพิจารณาดีๆก็เหมือนท่านั่งสมาธิโดยเอามือขวาวางทับมือซ้ายแล้วตั้งกายให้ตรงดำรงมั่นฯ
เพียงแต่องค์ท่านยกมือขึ้นมาแล้วทำท่าทางกำมืออยู่ระหว่าง "กลางทรวงอก"
แล้วปริศนาธรรมนี้บอกอะไรแก่พุทธศาสนิกชน?
สำหรับคนทั่วไปก็จะตีความหมายตามภูมิรู้ ภูมิธรรม ตามความหมายข้างต้น
แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าองค์หลวงปู่ท่านมีปัญญาเลิศล้นกว่าหมู่คนทั้งปวง
เราจึงได้รับรู้เรื่องราวเรื่องเล่าต่างๆ เกี่ยวกับองค์ท่านในความปราดเปรื่องทางปัญญาอยู่เสมอๆ
องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช ท่านเมตตาไขข้อสงสัยนี้ให้เหล่านักรบธรรมแห่งภูดานไหฟังว่า
เมื่อเราประสพเรื่องราว เครื่องหมาย นิมิตใดๆ ให้ตีความหมายไปใน "ทางธรรม" เสมอ
ครูบาอาจารย์ระดับนี้ ท่านไม่สื่ออะไรออกมาเป็นของง่ายของธรรมดาเป็นแน่ ความหมายพอสังเขปมีดังนี้
1. มือขวาที่กำอยู่เบื้องบนมือซ้ายท่านเรียกว่า "กรรมบน" เปรียบเหมือน "ปาก"
2. มือซ้ายที่กำอยู่ด้านล่างมือขวาท่านเรียกว่า "กรรมล่าง" เปรียบเหมือน "ท้อง"
3. (ขออนุญาตเสริม) ท่าทางที่องค์ท่านยกมือทั้งสองขึ้นมาระหว่างกลางทรวงอกนั้น..
ขออนุญาตเรียกว่า "กรรมทั้งมวล" นั้นรวมสู่ที่ "ใจ"
สรุปว่า อันคนเราจะคิดจะทำสิ่งใดๆ ก็คิด ก็ทำไป "เพื่อปากเพื่อท้อง" ของตนเสมอ กรรมทั้งมวลส่วนใหญ่จึงเกิดจากปากจากท้องของบุคคลนั้นๆ จะต่อสู้ดิ้นรนแสวงหาทรัพย์สินเงินทองหน้าตายศฐาบรรดาศักดิ์ก็ทำไป "เพื่อปากเพื่อท้อง" จะโกงบ้านจะกินเมือง "ก็เพื่อปากเพื่อท้อง"
2. มือซ้ายที่กำอยู่ด้านล่างมือขวาท่านเรียกว่า "กรรมล่าง" เปรียบเหมือน "ท้อง"
3. (ขออนุญาตเสริม) ท่าทางที่องค์ท่านยกมือทั้งสองขึ้นมาระหว่างกลางทรวงอกนั้น..
ขออนุญาตเรียกว่า "กรรมทั้งมวล" นั้นรวมสู่ที่ "ใจ"
สรุปว่า อันคนเราจะคิดจะทำสิ่งใดๆ ก็คิด ก็ทำไป "เพื่อปากเพื่อท้อง" ของตนเสมอ กรรมทั้งมวลส่วนใหญ่จึงเกิดจากปากจากท้องของบุคคลนั้นๆ จะต่อสู้ดิ้นรนแสวงหาทรัพย์สินเงินทองหน้าตายศฐาบรรดาศักดิ์ก็ทำไป "เพื่อปากเพื่อท้อง" จะโกงบ้านจะกินเมือง "ก็เพื่อปากเพื่อท้อง"
หมายเหตุ: ทบทวนมาจากความทรงจำ
ขอนอบน้อมกราบ กราบ กราบ องค์ครูบาอาจารย์ด้วยเศียรเกล้า
IT Man/26.04.56
"ลูกเอ๋ย ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเองคือบารมีลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะเอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สิน ในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว... เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมา ก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด ไม่มีอะไรเหลือติดตัว... แล้วเจ้าจะเอาอะไรไว้ในภพหน้าหมั่นสร้างบารมีไว้... แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง..."
"จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้...ครั้นถึงเวลา...ทั่วฟ้าจบดิน ก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลย จะมีใครที่ไหนจะมาช่วยเจ้า..."
นี่คือคำเทศนาของหลวงปู่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังษีที่ได้โปรดชี้ธรรมไว้นิมิต หลังจากที่ท่านล่วงลับไปแล้ว เมื่อ ร้อยกว่าปีก่อน อันเป็นปฐมเหตุที่ต้องสร้างความดี อย่างไม่มีวันสุด