วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

151: อภิญญานิเทศ บุพเพนิวาสานุสติญาณกาถา

ความรู้พิเศษเกินกว่ามนุษย์ปกติทั่วไป
บุพเพนิวาสานุสติญาณกาถา
เปรียบปัญญาของแต่ละบุคคล แม้ในปัญญาเครื่องระลึกชาติได้ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๗๑:

บุพเพนิวาสญาณ...

ของพวกเดียรถีย์ เป็นเช่นกับแสงหิ่งห้อย
ของพระสาวกทั้งหลาย เป็นเช่นกับแสงประทีป
ของพระอัครสาวก เป็นเช่นกับแสงดาวประกายพฤกษ์
ของพระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย เป็นเช่นกับแสงพระจันทร์
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นเช่นกับแสงสุริยมณฑลพันดวง


แนวทางปฏิบัติพระกรรมฐาน ได้นำเอาอภิญญานิเทศ นิเทศแปลว่า บทหรือหัวข้อ อภิญญา หมายถึงความรู้พิเศษเกินกว่ามนุษย์ปกติทั่วไปที่มี คำว่า บุพเพนิวาสานุสติญาณกาถา
กาถา หมายถึง การเทศ การบรรยาย

ญาณ แปลว่า ความรู้ที่เกี่ยวกับการใช้สติ
อานุสติ แปลว่า การระลึกนึกถึงสิ่งที่ตัวเองเคยอยู่
นิวาสะ แปลว่า การเคยอยู่อาศัย

บุปพะ แปลว่า ในชาติก่อน

บุพเพนิวาสานุสติญาณกาถา คือหัวข้อว่าด้วย ความรู้เกี่ยวกับการระลึกชาติในอดีต เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่อยู่ในอภิญญา อภิญญา คือความรู้ที่พิเศษ หลัก ๆ มี
๑. อิทธิวิธี คือการแสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้
๒. การมีตาทิพย์ หมายถึง ทิพย์จักขุ
๓. ทิพยโสต คือหูทิพย์
๔. รู้ใจคนอื่น คือเจโตปริยญาณ
๕. การระลึกชาติ คือ บุพเพนิวาสานุสติญาณ
๖. การทำลายกิเลสให้สิ้นไปจากจิตใจ


พระพุทธโฆษาจารย์ ได้อธิบาย คำว่าระลึกชาติ หมายถึง ขันธ์ คือ ร่างกายและจิตใจที่ตัวเองเคยอาศัยอยู่ในช่วงก่อน ในพุทธศาสนาพูดถึงการเวียนว่าย ตาย เกิด จะพูดถึงภพภูมิต่าง ๆ เช่นตายจากมนุษย์ เกิดเป็นมนุษย์ เคยเกิดเป็นเปรต เคยเกิดเป็นเทวดา เคยเกิดเป็นพรหม เรียกว่า บุพเพนิวาสานุสติญาณ คือการระลึกชาติได้



การระลึกชาติได้ มีหลายประเภท เริ่มต้นชาติที่ติดกับเราคือ ชาติที่แล้วย้อนถัดไปเรื่อย ๆ เวลาระลึกชาติได้จะเห็นว่า เราเคยเกิดแล้วทั้งนั้น เช่น นรกทุกขุม เปรต สัตว์เดรัจฉานแทบทุกประเภท มนุษย์ทุกเพศ ทุกชั้นวรรณะ เทวดาทุกชั้นทั้ง ๖ ชั้น มีศัพท์ ๒ ศัพท์ คือ จุติ คือการตาย อุบัติ คือการเกิด เช่น ใช้คำว่าว่า เทวดาจุติ คือการตายแล้วไปอุบัติ จุติคือการเคลื่อน

ความสามารถในการระลึกต่างกัน
๑. เดียรถีย์ทั้งหลาย ระลึกได้แต่ลำดับขันธ์ ไม่อาจปล่อยลำดับมาระลึกโดยจุติ ปฏิสนธิได้
๒. พระปกติสาวก ระลึกโดยลำดับขันธ์บ้าง ระลึกก้าวไปโดยจุติ ปฏิสนธิบ้าง
๓. พระมหาสาวก เช่นเดียวกับพระปกติสาวก
๔. พระอัครสาวก กิจด้วยการระลึกตามลำดับขันธ์หามีไม่ ระลึกก้าวไปในจุติ ปฏิสนธิทีเดียว เห็นจุติอัตภาพหนึ่ง เห็นปฏิสนธิในอัตภาพอื่น
๕. พระปัจเจกพุทธทั้งหลาย ก็เช่นเดียวกับพระอัครสาวก
๖. พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระประสงค์จะทรงทราบ ตรงที่ใด ในกาลใด แม้หลายโกฏิกัป ในที่นั้นๆ ก็ปรากฏแก่พระองค์โดยแท้

(ที่มา - คู่มือการศึกษา วิสุทธิมัค [สังเขป] รวบรวมโดยอาจารย์วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี)
 ในการระลึกชาติได้ ๖ ประเภท ปริมาณการระลึกชาติได้ก็จะต่างกันไป
ประเภทที่ ๑ เดียรัตถี ระลึกชาติได้เต็มที่แค่ ๔๐ กัปป์
กัปป์เป็นอย่างไร มีหลุมลึก กว้าง ยาว ด้านละ ๑๖ กิโลเมตร พอ ๑๐๐ ปี ใส่เมล็ดผักกาดพืชลงไป ๑ เมล็ด จนกระทั่งเต็มหลุม เท่ากับ ๑ กัปป์ ๔๐ กัปป์ไม่ใช่ธรรมดาเราไม่รู้ว่าจะนานกี่แสนปี นักบัญชีคงงงต้องใช้ปัญญาพิเศษของพระพุทธเจ้าคิดที่เหนือกว่าเครื่องคิดเลข จึงมีคำถามว่า ทำไมถึงระลึกชาติได้แค่นี้ท่านบอกว่า เพราะคนพวกนี้มีปัญญาอ่อน จึงระลึกชาติได้แค่นี้ ปัญญาอ่อนนี้ หมายถึง การปราศจากการกำหนด นาม และรูป หมายถึง ไม่มีการเจริญวิปัสสนาเหมือนพระพุทธศาสนา ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา โสรัจ คือฝึกจิตล้วน ๆ ตั้งแต่ ญาณ ๔ ได้แก่ ญาณสมาบัติ ค่อย ๆ ฝึกจิตระลึกชาติได้
ประเภทที่ ๒. พระสาวกปกติ ใช้เวลาบำเพ็ญ ๑๐๐ ถึง ๑๐๐๐ มหากัป มากบ้าง น้อยบ้าง แล้วแต่บารมี เพราะปัญญากล้า คือได้เจริญ นาม รูป วิปัสสนา
ประเภทที่ ๓. พระอสีติมหาเถระ ๘๐ รูป อสีติ แปลว่า แปดสิบ เช่น พระมหากัสสะปะ พระอานนท์ พระอนุรุตทะ สร้างบารมีมา ๑๐๐๐๐๐ กัป
ประเภทที่ ๔. พระอัครสาวกทั้งสอง ได้แก่ พระโมคคัลลา พระสารีบุตร ระลึกชาติได้ ๑ อสงขัย กับ ๑๐๐๐๐๐ กัปป์ ๑ อสงขัย คือนับไม่ได้ คำนวณไม่ได้ คำนวณได้โดยใช้ปัญญาพระพุทธเจ้า
ประเภทที่ ๕. พระปัจเจกพุทธเจ้า ระลึกชาติได้ ๒ อสงไขย กับ ๑๐๐๐๐๐ กัปป์ เพราะการบำเพ็ญบารมีมาในระดับนี้
ประเภทที่ ๖. พระพุทธเจ้า ไม่มี ไม่ได้กำหนด อยากจะระลึกชาติใดก็ได้ เท่าใดก็ได้
แล้วทำไมระยะเวลาการระลึกชาติทำไมถึงต่างกัน การระลึกชาติ สำหรับ เดียรรัตถี ระลึกได้ตามลำดับ พิสดารไม่ได้ คือชาติจากที่เกิด ถัดไปเรื่อยๆ จะข้ามกระโดดไม่ได้ คล้ายคนตาบอดต้องใช้ไม้เท้าไปทีละก้าว ตามลำดับ จะกระโดดเหมือนคนตาดีไม่ได้

สำหรับพระพุทธเจ้ามีญาณมาก จะกระโดดไปชาติไหนก็ได้
เพราะสร้างบารมีเยอะ พลังการระลึกชาติก็มีมาก