วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2554

40: ศรัทธา ความหวัง การอนุรักษ์:เขาคิชฌกูฏ

ศรัทธา ความหวัง การอนุรักษ์:เขาคิชฌกูฏ
Last Updated on Thursday, 11 February 2010 04:13
Written by Green
Thursday, 11 February 2010 01:19
ยอดเขาสูงราว 1,085 เมตรจากระดับน้ำทะเล อยู่สูง อยู่กลางป่าอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ กับเรื่องราวปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สอดคล้องกับ ตำนานทางพระพุทธศาสนา”ยอดเขาพระบาทแห่งเขาคิฌชกูฏ”

Khitchakut hd 001 ศรัทธา ความหวัง การอนุรักษ์:เขาคิชฌกูฏ
…ยอดเขาสูงราว 1,085 เมตรจากระดับน้ำทะเล อยู่สูง อยู่กลางป่า เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ และมีเรื่องราวของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติทางธรณีวิทยาที่กลายมาสอดคล้องกับ ตำนานทางพระพุทธศาสนา“ยอดเขาพระบาทแห่งเขาคิชฌกูฏ”
…ตัวผมเองได้มีโอกาสได้เดินทางไปเขาคิชฌกูฏเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรื่องสถานที่ความนิยมและศรัทธาของเขาคิชฌกูฏแห่งนี้คงไม่ต้องบรรยายให้มากความ หลายคนไปแล้วสมหวังหลายคนไปแล้วก็ยังหวังอยู่วันนี้ในฐานะ หนึ่งนักท่องเที่ยวหนึ่งความเห็นผมจึงอยากนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ของเขาคิชฌกูฏแห่งนี้มาเล่ามาแบ่งปันให้เพื่อน ๆ ได้ฟังกัน รวมทั้งขอสอดแทรกความรู้สึกนึกคิดของผมเองที่เห็นทั้งแนวโน้มของปัญหาและการ ดำรงไว้ซึ่งความเชื่อและศรัทธา…
khaokhitchakut s 001 ศรัทธา ความหวัง การอนุรักษ์:เขาคิชฌกูฏ
…หลายคนคงจะพอทราบกันบ้างว่าเขาคิชฌกูฏแห่งนี้ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของ “อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ” โดยพื้นที่อุทยานแห่งนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวและมุมพักผ่อนสวย ๆ ที่น่าสนใจอยู่หลายแห่งเช่น น้ำตกกระทิง, น้ำตกคลองช้างเซ, น้ำตกคลองไพบูลย์ หรือจะเป็นมุมของบึงน้ำขนาดย่อม ๆ ที่อยู่บริเวณสถานที่กางเต๊นท์ให้นักท่องเที่ยวได้มาพักผ่อนกัน ซึ่งโดยมากแล้วนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะเลยไปยังเขาคิชฌกูฏทันทีโดยไม่ค่อย ได้แวะมาที่อุทยานแห่งนี้ ครั้งหน้าหรือใคร ๆ หากมีเวลาเหลือพอก็อย่าลืมแวะมาเข้าตัวอุทยานแห่งชาติกันสักหน่อยนะครับ บรรยากาศที่ตัวอุทยานแห่งนี้ร่มรื่นจริง ๆ… (ขอโทษที่ไม่ได้ถ่ายภาพมา เนื่องจากไปฟังบรรยายจากเจ้าหน้าที่) ^ ^
…เดิมที่พื้นที่ของเขาคิชฌกูฏแห่งนี้นั้นไม่ได้ เป็นของอุทยานแห่งชาติมาแต่แรก โดยพื้นที่เหล่านั้นเป็นของชาวบ้านมาก่อนแต่เนิ่นแต่นาน และขนบธรรมเนียมประเพณีสักการะนมัสการนั้นชาวบ้านก็ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็น เวลานานแล้ว.แต่เนื่องจากสมัยก่อนการเข้าถึงยังเป็นไปได้ยาก ลำบาก ปัญหาและแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมจึงยังไม่น่าส่งผลมาก สักเท่าไหร่ ผิดกับปัจจุบันที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและจากการที่ผมได้เข้าฟังบรรยายรับ รู้เรื่องราวจากเจ้าหน้าที่อุทยานจึงได้พบว่าปัญหาที่เลี่ยงไม่ได้และได้รับ ผลกระทบมากที่สุดก็คือ “ขยะ” O_o
khaokhitchakut s 004 ศรัทธา ความหวัง การอนุรักษ์:เขาคิชฌกูฏ
…ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากขึ้นเป็นเงาตามตัว ตามวันเวลาและสภาพเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันหมด ส่งผลให้ปริมาณขยะสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รวมไปถึงสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น ห้องน้ำ ซึ่งยากต่อการควบคุมแม้ว่าจะมีการจัดให้อยู่ในพื้นที่ของอุทยานฯแล้วก็ตาม แต่การดำเนินงานต่าง ๆ ก็ทำได้แค่เพียงส่วนหนึ่งเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเทียบกับจำนวนและปริมาณของผู้มาเยือนและที่สำคัญไปกว่านั้นคือ “การเข้ามาทีหลังของอุทยานที่มาหลังชาวบ้าน”…
…ว่ากันง่าย ๆ เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ พื้นที่และหลายสิ่งหลายอย่างรวมทั้งวิถีรูปแบบเป็นของชาวบ้านมาก่อน ดังนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเข้ามาของอุทยานฯ การดำเนินงานประสานงานบางอย่างจึงติดขัดไม่ลื่นไหลอย่างที่ควรจะเป็น ทั้งในการร้องขอจากชาวบ้านในการดูแลควบคุมปัญหาปริมาณขยะ หรือในด้านต่าง ๆ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ยอดเขาพระบาทเปิดให้ผู้ศรัทธาได้มานมัสการสักการะ นั้นมีเพียงแค่ “2 เดือนเท่านั้น”
khaokhitchakut s 005 ศรัทธา ความหวัง การอนุรักษ์:เขาคิชฌกูฏ
…จากเดิมทีก่อนจัด 15 วันตามแบบปกติทั่วไป จนต้องเพิ่มเป็น 30 เป็น 45 วันและสุดท้ายปัจจุบันที่ 60 วัน… จึงเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านจะมีรายได้มากที่สุดเลยทำให้มองเรื่อง “การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นเรื่องถัด ๆ ไปรองจากรายได้และผลตอบแทน จะมีวิธีไหนบ้างที่จะช่วย ให้สภาพแวดล้อมและการอนุรักษ์เป็นไปได้ในลู่ทางที่ดีขึ้น
…สำหรับในมุมมองผมแล้วงานนี้ถ้าจะให้รอแต่ทางอุทยานฯช่วยเหลือฝ่ายเดียวคงใช้ เวลาอีกสักร้อยปีเป็นแน่ เพราะอุทยานฯ ทุกวันนี้เองก็ยอมรับแบบตรง ๆ ว่าที่มีนักท่องเที่ยวมาเข้าอุทยานฯ มากขึ้นก็เพราะเป็นผลพลอยได้จากการเดินทางมาสักการะของนักท่องเที่ยวจากเขาคิชฌกูฏ จากคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ “ขนาดอุทยานฯ ยังต้องพึ่งชาวบ้านเลย “…
khaokhitchakut s 010 ศรัทธา ความหวัง การอนุรักษ์:เขาคิชฌกูฏ
….ดังนั้นสิ่งที่ตอบได้ดีที่สุดน่าจะมีอยู่ 2 ข้อในความคิดของผมคือ นักท่องเที่ยวคุณภาพ และ ทางวัดที่เป็นเหมือนแหล่งศูนย์กลางของชาวบ้านและผู้มาสักการะ
...นักท่องเที่ยวคุณภาพสำหรับผมไม่ต้องมีอะไรมากขอแค่ 3 ข้อก็พอ…
-1. ไม่ทำลาย – แค่นี้ก็เข้าข่ายอนุรักษ์แล้ว
-2. ดูแลและใส่ใจ – ช่วยกันสอดส่องหาหนทางแก้ไขเพื่อบอกต่อไปสู่หนทางที่ดีขึ้น
-3. มีสำนึกในการท่องเที่ยว – ข้อนี้ยิ่งง่ายใหญ่เพราะแค่ขยะในมือ 1 ชิ้นก็พิสูจน์ได้แล้วว่าคุณจะทำอย่างไร มีสำนึกแค่ไหนกับขยะชิ้นนั้น
…ทั้งหมดนี้คือปัญหาแรกที่เจ้าหน้าที่ได้ชี้แจงและผมเองก็ได้เห็นได้เจอกับตัวเองตลอดทางเดินขึ้นเขาคิชฌกูฏแห่งนี้…
khaokhitchakut s 007 ศรัทธา ความหวัง การอนุรักษ์:เขาคิชฌกูฏ
…ประการ ที่สองที่จะทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมลงอย่างช้าที่สุด(เพราะจะให้ดีขึ้นคงยาก) ผมมองว่าทางวัดน่าจะเข้ามามีบทบาทมากกว่านี้ เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของทั้งชาวบ้านและผู้มีแรงจิตศรัทธาการบอกกล่าวหรือ ขยับตัวอะไรสักนิดน่าจะส่งผลดีกลับมาบ้าง แต่เหตุผลนี้คงจะเป็นไปได้โคตรยากเพราะทางวัดเองคงไม่มาเปิดกระทู้นี้อ่าน รวมทั้งชาวบ้านก็คงไม่ได้มาเข้าอ่านอะไรในอินเตอร์เนทอยู่แล้ว ทุกอย่างเลยต้องย้อนกลับไปที่ข้อแรกคือ คุณภาพของนักท่องเที่ยว ถือซะว่าเราช่วยเพิ่มอีกสักคนหรือบอกต่อกันไป Pay It Forward นี่แหละครับคือหนทางที่ดีที่สุดแล้ว ปลูกฝังที่ตัวเองและคนของเรานั่นแหละ …
khaokhitchakut s 011 ศรัทธา ความหวัง การอนุรักษ์:เขาคิชฌกูฏ
…ย้อนมองข้ามปัญหาเรื่องขยะและสิ่งแวดล้อมไป ผมขออีกสักเรื่องที่ คาใจ ผมมากคือเรื่องของ “ความหวังและศรัทธา” จากคำบอกเล่าและสถิติที่ได้มาจากเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา เมื่อปี 2551 ยอดนักท่องเที่ยวที่เดินทางสู่เขาคิชฌกูฏโดยประมาณ 690,000 คน ตลอดช่วงเวลา 60 วัน และล่าสุดปี 2552 ที่ผานมายอดเพิ่มเป็น 800,000 คนด้วยระยะเวลาเท่ากัน…คงไม่ต้องคิดนะครับว่ายอดต่อไปจะเฉียดใกล้ล้านอีก สักแค่ไหน หากสภาพเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น รายได้และสภาพกระเป๋าของชนชั้นรากหญ้าลดลง…ความหวังและศรัทธาจึงสวนทางเพิ่มขึ้น …เนื่องจากไม่มีอะไรให้หวัง หมดหวัง ไม่มีอะไรให้มั่นใจได้ จึงต้องหันเข้าหาสิ่งยึดเหนี่ยวยึดมั่นทางใจ แต่จะมีสักกี่คนที่ได้อย่างที่หวังแลศรัทธาไว้ …
…สิ่งที่จะทำให้ความหวังและศรัทธาเป็นจริงขึ้นมาคง จะดีที่สุดคือ “หันมามองตัวเอง ก้มหน้าก้มตา ทำมาหากินกันต่อไป โดยมีชาติให้ยืน มีศาสนาให้นับถือ มีพระมหากษัตริย์ไว้เคารพ” เพื่อไว้เป็นความหวังและกำลังใจในวันที่ไร้ที่พึ่งพิง เพื่อว่าสักวันวงล้อแห่งความหวังและศรัทธาจะหมุนมาลงที่เราบ้าง
khaokhitchakut s 014 ศรัทธา ความหวัง การอนุรักษ์:เขาคิชฌกูฏ
…จากการบริจาคร่วมทำบุญปัจจัยตามกำลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนและผู้มีแรงจิตศรัทธา จะมาพร้อมด้วยเสียงตอบกลับแทบทุกครั้งไปว่า “บริจาคเงินวันนี้ 500 บาท กลับบ้านไปขอให้ร่ำให้รวยได้เงิน 500 ล้าน นะแม่ ๆ นะหนู ๆ ” ฟังดูเผิน ๆ อาจไม่ต้องคิดอะไรมากแค่คำอวยพรกลับมา…แต่สำหรับผมมันเหมือนเป็นการทำร้าย และเป็นการปลูกฝังให้คนพลั้งเผลอและหวังเชื่องมงายกันแบบผิด ๆ ต่อไป… ลองคิดดูนะครับว่าเด็ก ๆ หากได้ยินแบบนี้ถูกปลูกฝังแบบนี้มาจะเกิดอะไรขึ้นในวันข้างหน้า จะมีบ้างไหมที่จะได้ยินว่า “บริจาค 500 วันนี้ ขอให้ร่างกายแม่ ๆ หนู ๆ แข็งแรงสุขภาพใจบริสุทธิ์ เป็นคนดีไปอีก 500 วันพันปีเลยนะ”…ให้ได้รู้ว่าผลของการให้นั้นอยู่ที่ “ความสุขในใจมากกว่าเงินทอง”…
…พาลให้นึกถึงคำจากนักปราชญ์โบราณที่เคยกล่าวไว้ว่า “…หากแต่ไปด้วยจิตศรัทธา มุ่งมั่น มิมีทรัพย์ไปบริจาค จักมิได้รับผลบุญอะไรบ้างเชียวหรือ….”
…แต่ก็ต้องยอมรับกันตรง ๆ ล่ะครับว่าสำหรับทุกวันนี้ ปัจจุบันนี้ มันคือวันที่ วัตถุเดินทางแซงหน้าจิตใจไปแล้ว และดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่สัมผัสและจับต้องได้ง่ายดายกว่าเรื่องราวของจิตใจ…
khaokhitchakut s 017 ศรัทธา ความหวัง การอนุรักษ์:เขาคิชฌกูฏ
…แต่อย่างไรก็ตามรอยพระพุทธบาทที่ยอดเขาคิชฌกูฏ แห่งนี้ยังคงตั้งมั่นอยู่ที่แห่งนี้ต่อไป ทั้งในด้านความเชื่อและในด้านวิทยาศาสตร์ที่ส่งผลมาจวบจนทุกวันนี้ ผู้มีจิตศรัทธาผู้ที่เลื่อมใสที่ต่างเดินทางมาเพื่อนมัสการกราบไหว้ขอพร ขอให้ได้ในสิ่งที่ตนหวังไว้ หลายคนเคยมาแล้ว หลายคนยังไม่เคยมา หลายคนไปแล้วกลับมาเพราะยังไม่ได้ดั่งหวัง แต่หลายคนไปแล้วและยังคงกลับมาอยู่เสมอเพราะได้ดั่งหวัง ก็สุดแท้แต่กันไป จะอย่างไรก็ดีสุดท้ายแล้วก็ต้องฝากถึงนักท่องเที่ยวทุกคนที่เดินทางมาให้ช่วย กันรักษาสถานที่แห่งนี้ไว้ให้ดีที่สุดด้วยนะครับ …เพราะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์รอยพระพุทธบาทยอดเขาคิชฌกูฏแห่งนี้ก็จะยังคงอยู่คู่ผืนแผ่นดินไทยไปอีกนานเท่านาน
khaokhitchakut s 018 ศรัทธา ความหวัง การอนุรักษ์:เขาคิชฌกูฏ
…ขอบคุณครับที่อ่านจนจบ… สุดท้ายนี้ขอฝากเรื่องของการอนุรักษ์รักษาสภาพสิ่งแวดล้อมไว้ด้วยนะครับ ทั้งที่เขาคิชฌกูฏแห่งนี้และทุก ๆ สถานที่ท่องเที่ยวในเมืองไทย บ้านเมืองผืนป่าเป็นของเราอยู่ในมือของพวกเราทุกคนช่วยกันดูแลและทำเพื่อ ประโยชน์สูงสุดต่อ ๆ ไปด้วยกันเถอะครับ
…เดินทางไปในสถานที่ต่าง ๆ ที่อยากไป และช่วยกันอนุรักษ์หวงแหนสิ่งแวดล้อมไว้ให้อยู่นาน ๆ … สวัสดีครับ / ฟอร์ซ่านุ
ป.ล. ขอขอบคุณ ททท.สำหรับการเดินทางครั้งนี้ และอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏสำหรับข้อมูลและเรื่องราวต่าง ๆ


การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานระยอง (ระยอง จันทบุรี)
153/4 ถนนสุขุมวิท ต.ตะพง อ.เมือง จ.ระยอง 21000
โทรศัพท์ : 0-3865-5420-1, 0-3866-4585 โทรสาร : 0-3865-5422

อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ต.พลวง อ. เขาคิชฌกูฏ จ. จันทบุรี 22210
โทรศัพท์ 0 3945 2074 โทรสาร 0 3945 2069 (VoIP) 

อีเมล: khaokhitchakut_np@hotmail.com