วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555

178: แม่สอด-พบพระวิว

บ่ายวันอาทิตย์ที่ 9 ก.ย. 55 หลังจากตามงานเรื่องวางระบบเครือข่าย Ethernet จาก CAT และวางระบบ LAN ภายใน รพ.เอกชนแห่งหนึ่งในอำเภอ ก็ได้เวลาออกไปรับอากาศบริสุทธิ์ ประมาณบ่าย 4 โมงกว่าของวันนี้อากาศดีมากที่สุด ไม่มีแดด ไม่มีฝน
 
จึงปรารถนาจักขึ้นดอยไปทางพบพระ ตั้งใจว่าจะขึ้นไปบนสนส.ขันติบารมีที่เมื่อปีที่แล้วเต็มไปด้วยผู้แสวงบุญแลแสวงหาโชคลาภ ทราบมาว่าในปีนี้ผันแปรเปลี่ยนไปจากความเจริญที่มีมาอย่างรวดเร็วแล้วทยอยสู่ความเสื่อมโทรม เพราะไม่มีพระจำพรรษา
 
ในใจก็อยากไปสำรวจพระบรมสารีริกธาตุกับพระธาตุที่เคยถวายหลวงปู่เจ้าของสำนัก ว่ายังอยู่ดีหรือเปล่า? ชมภาพกันเลยดีกว่าครับ 
เส้นทางแม่สอด-พบพระ ทางดีครับ 
เลียบทางเลี่ยงม่อนมาครึ่งทางแล้วขึ้นเขามาหน่อยนึง
ก็ถึงสำนักสงฆ์ขันติบารมี มีอาโก่ชาวพม่ามาให้การต้อนรับ
อาโก่บอกว่าดูแลวัดอยู่คนเดียว
 วิวจากบนวัด
รูปปั้นหลวงปู่ชื่อดัง
ดอกไม้ด้านหน้ารูปปั้น
เบ่งบานตามธรรมชาติ
กิจนิมนต์ว่าง...เพราะไม่มีพระจำพรรษา
 ตั้งใจมากราบพระประธานและพระบรมฯสารีริกธาตุ
อืมทรงประดิษฐานอยู่บนโต๊ะหมู่อย่างดีครับ
ไหนๆก็มาแล้วก็ขอภาพงามๆเป็นที่ระลึกสัก 2-3 ภาพหรือมากกว่าหน่อย
คนเดิมๆ 
วิวใหม่ๆ
วิวเขาหัวโล้น 
อีกด้าน วิวสวยและอากาศดีมากๆ
ลากสายไฟมาพอสมควร 
โรงครัว ที่เมื่อครั้งอดีตเต็มไปด้วยผู้แสวงบุญ
ศาลาปฏิบัติธรรมชั่วคราว ตอนนี้เป็นที่เก็บวัสดุก่อสร้าง
 กระท่อมบนวัด ผุพังไปตามกาลเวลา
ผมได้นั่งภาวนารับลมเย็นๆบนนี้ รู้สึกสงบดีมากๆ
มองลงไปจากกระท่อม จักเห็นถนนเลี่ยงม่อนผ่านหน้าวัด
หมาวัดตัวผอมๆ หาที่พึ่งพิงยามยาก
นอนอย่างสบายใจ
ถนนขึ้นวัดคอนกรีตอย่างดีเลย(ขากลับ)
ป้ายชื่อวัด

177: ตำนาน พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ : นะ โม พุท ธา ยะ

ตำนาน พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ (นะ โม พุท ธา ยะ)
ในสมัย ต้นปฐมกัป มีพญากาเผือกสองตัวผัวเมีย ทำรังอยู่ที่ต้นมะเดื่อริมฝั่งแม่น้ำคงคาอันเป็นธรรมชาติสถาน รื่นรมย์ ในเวลาต่อมาต่อมา พระโพธิสัตว์ ได้ทรงปฏิสนธิเกิดในครรภ์แม่พญากาเผือก พร้อมกันถึง ๕ พระองค์ เมื่อครบทศมาส แม่กาเผือกก็ออกไข่ ณ ที่รังต้นมะเดื่อ จำนวน ๕ ฟอง (สถานที่นี้ในกาลต่อมาเรียกว่า วัดพระเกิด) และคอยเฝ้า ดูแลรักษาไข่ด้วยความทะนุถนอมเป็นอย่างดี อยู่ มาวันหนึ่งพญากาเผือกออกไปหากินถิ่นแดนไกลไปถึงสถานที่แห่งหนึ่งอันสมบูรณ์ ด้วยธรรมชาติ แม่กาเผือกเพลินหากินอาหาร ชื่นชมกับธรรมชาติจนมืดค่ำ เกิดลมพายุใหญ่พัดกระหน่ำมืดครึ้มทั่วไปหมด ทำให้หาหนทางออก ไม่ถูก จึงหลงอยู่ในบริเวณสถานที่นั้น (สถานที่นั้นในกาลต่อมาเรียกว่า เวียงกาหลง) แม่กาเผือกได้อยู่ที่เวียงกาหลง คืนหนึ่ง จนเช้าจึงรีบถลาบินกลับที่พัก แต่ปรากฏว่ากิ่งไม้มะเดื่อที่ทำรังอยู่ถูกลมพายุใหญ่พัดหักล้มลงไปในแม่น้ำ แม่กาเผือกตกใจรีบบินถลาหาลูกที่ยังอยู่ในไข่ แต่หาเท่าไรก็ไม่พบ ด้วยความเศร้าโศกเสียใจ ในที่สุดก็สิ้นใจตายอย่างน่าสงสาร

แต่ด้วยอานิสงส์ที่มีความเมตตารักลูกอันบริสุทธิ์กับทั้งที่ลูกของแม่กา เผือกเป็นพระโพธิสัตว์ถึง ๕ พระองค์ จึงเป็นกุศลหนุนส่งให้แม่กาเผือกไปจุติยังแดนพรหมโลกชั้นสุทธาวาส ได้พระนามว่า “ฆติกามหาพรหม” จักได้เป็นผู้ถวาย อัฏฐะบริขาร บวชแก่ลูกทั้ง ๕ พระองค์ เมื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนไข่ทั้ง ๕ ถูกลมพัดตกน้ำไหลไปในสถานที่ต่าง ๆ ไข่ฟองที่ ๑ แม่ไก่เก็บไปดูแลรักษา ไข่ฟองที่ ๒ แม่นาคราชเก็บไปดูแลรักษา ไข่ฟองที่ ๓ แม่เต่า เก็บไปดูแลรักษา ไข่ฟองที่ ๔ แม่โคเก็บไปดูแลรักษา ไข่ฟองที่ ๕ แม่ราชสีห์เก็บไปดูแลรักษา

ครั้นในกาลเวลาต่อมา พระโพธิสัตว์ทั้ง ๕ ก็ประสูติออกจากไข่ ปรากฏเป็นมนุษย์บุรุษรูปงานทั้ง ๕ พระองค์ และเจริญเติบโตอยู่กับแม่เลี้ยงด้วยความกตัญญู รู้จักหน้าที่ ทดแทนบุญคุณจนถึงอายุได้ ๑๒ ปี ด้วยบุญกุศลเก่าหนุนส่งก็มีจิตคิดที่จะออกบวชบำเพ็ญเนกขัมมะบารมี เป็นฤาษีอยู่ในป่า จึงได้อำลาแม่เลี้ยงของตนเหมือนกันทั้ง ๕ พระองค์ ฝ่ายแม่เลี้ยงก็ไม่ขัดความประสงค์ อนุญาตให้ลูกไปบวช บำเพ็ญบารมีอยู่ในป่าด้วยความอนุโมทนา

แม่ เลี้ยงทั้ง ๕ เป็นปณิธานที่มุ่งมั่น จะบำเพ็ญบารมีพระโพธิญาณ เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าโปรดสัตว์โลกให้พ้นจากกองทุกข์ในวัฏฏะสงสาร จึงฝากนามของแม่เลี้ยงไว้กับลูกเพื่อเป็นอนุสรณ์ตำนานไว้แก่โลกต่อไปในภาค หน้า เมื่อลูกได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าโปรดโลกแล้วตามลำดับพระนามดังต่อไปนี้
องค์ที่ ๑ มีพระนามว่า พระกกุสันโธ เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นไก่
องค์ที่ ๒ มีพระนามว่า พระโกนาคมโน เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นนาค
องค์ที่ ๓ มีพระนามว่า พระกัสสโป เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นเต่า
องค์ที่ ๔ มีพระนามว่า พระโคตโม เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นโค
องค์ที่ ๕ มีพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรโย เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นราชสีห์

ในกัปนี้ชื่อว่า ภัททกัปเป็นกัปที่เจริญที่สุดเพราะมีพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกนี้ถึง ๕ พระองค์ จึงเป็นที่มาของ คำว่า “นโมพุทธายะ” นะ คือ พระกกุสันโธ โม คือ พระโกนาคมโน พุท คือ พระกัสสโป ธา คือ พระโคตโมยะ คือ พระศรีอาริยเมตไตรโย จนเป็นคาถาที่ใช้สืบต่อกันมา ฝ่าย พระโพธิสัตว์ ทั้ง ๕ เมื่อออกบวชเป็นฤาษีก็ได้บำเพ็ญเพียรพระกัมมัฏฐานจนสำเร็จญาณอภิญญาสมาบัติ อยู่มาวันหนึ่งได้เหาะมาหาอาหารผลไม้ และบำเพ็ญเพียรธรรมที่ป่าดอยสิงกุตตระ ณ ใต้ต้นนิโครธ อันร่มเย็นด้วยกิ่งไม้สาขาใหญ่ ฤาษีทั้ง ๕ ได้มาพบกัน ณ ที่นี้โดยไม่ได้นัดหมาย จึงสอบถามถึงความเป็นมาของกันและกันจนรู้ว่าแต่ละองค์ก็มีแต่แม่เลี้ยง ฤาษีทั้ง ๕ จึงร่วมกันตั้งสัจจะอธิษฐานขอให้ได้พบแม่บังเกิดเกล้า ด้วยอำนาจสัจจะอธิษฐานธรรมอันบริสุทธิ์ดังก้องไปถึงพรหมโลก ท้าวฆติกามหาพรหม ซึ่งเดิมคือ แม่กาเผือก ทราบเหตุการณ์ทั้งหมดจึงจำแลงเพศเป็นรูปเดิม ขนขาวสวยงาม มาปรากฏตัวอยู่ข้างหน้าของฤาษีทั้ง ๕ เมื่อลูกฤาษีได้ทราบเรื่องราวทั้งหมด ก็รู้สึกสลดสังเวชใจและสำนึกบุญคุณอันใหญ่หลวงของแม่กาเผือก จึงน้อมนมัสการผู้เป็นแม่ กราบขอสัญลักษณ์อนุสรณ์ผู้บังเกิดเกล้าไว้บูชา ได้มาเป็นผ้าฝ้ายเป็นตีนกาสัญลักษณ์ของแม่กาเผือกให้แก่ลูกฤาษีทั้ง ๕ ไว้ใช้เป็นไส้ประทีปจุดบูชาทุกวันพระ และต่อมาได้กลายเป็นประเพณีจุดประทีปตีนกาบูชาแม่กาเผือก ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ลอยกระทง เป็นตำนานสืบไว้ตลอดกาลนาน

ฤาษี โพธิสัตว์ทั้ง ๕ ต่างพากันตั้งหน้าบำเพ็ญเพียรรักษาศีลธรรมภาวนามิได้ขาดจนดับขันธ์ ได้ไปจุติบนเทวโลกชั้นดุสิตพิภพ และในกาลต่อมาก็วนเวียนบำเพ็ญเพียรบารมีทุกภพชาติที่กำเนิดเกิดในสงสารวัฏ นี้ จนบารมีเต็มเปี่ยมสมบูรณ์ทั้ง 30 ทัศแล้ว ก็ ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ฆติกามหาพรหมผู้เป็นแม่ต้นกัปโลกา ก็จะนำเอาบริขาร คือ บาตรไตรจีวร มาถวายลูกโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์ในชาติสุดท้ายที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าโปรดโลกทุกพระองค์

กาลเวลาอันยาวนานผ่านไปจนถึงปัจจุบัน พระโพธิสัตว์ลูกแม่กาเผือก ก็ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าโปรดโลกไปแล้วถึง ๔ พระองค์ ตามลำดับดังนี้

พระกกุสันโธสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๔ หมื่นปี มีเขมวตีนนครของพระเจ้าเขมะเป็นราชธานี
พระโกนาคมโนสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๓ หมื่นปี มีโสภวตีนนครของพระเจ้าโสภะเป็นราชธานี
พระกัสสโปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๒ หมื่นปี มีพาราณสีนครของพระเจ้ากิงกิเป็นราชธานี
พระโคตโมสัมมาสัมพุทธเจ้า มีอายุ ๘๐ ปี มีกบิลพัสดุ์นครของพระพุทธเจ้าสุทโธทนะเป็นราชธาน
ส่วน พระโพธิสัตว์องค์ที่ ๕ อันเป็นลูกองค์สุดท้ายของแม่กาเผือก คือ พระศรีอริยเมตไตรย์ จักเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๕ ในภัททกัป จะมีอายุถึง ๘ หมื่นปี