วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2555

การทบทวนทิศทางของเว็ปบอร์ดหลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิต

กราบเรียน เพื่อนนรธ.และญาติธรรมทุกท่าน
เรื่อง การพิจารณาการดำเนินไปของเว็ปบอร์ดหลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิต


เดิมทีที่กระผมก่อตั้งเว็ปบอร์ด (กระทู้) แห่งนี้ขึ้นมา ก็เพื่อเจตนาในการเผยแพร่ความรู้ เรื่องราวพระพิมพ์สำคัญๆ การก้าวไปในบุญวิถี จรรโลงซึ่งธรรมะสืบทอดพระศาสนาให้ยืนยาวตราบนานเท่านาน และเผยแพร่ธรรมะ ปฏิปทา ความอัศจรรย์ขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์แห่งภูดานไห เพื่อนอบน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา ด้วยท่านเป็นพระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตรง และเพื่อให้ผู้ที่ได้มารับรู้รับทราบ หากเกิดศรัทธาได้น้อมนำไปประพฤติปฏิบัติก็จักเกิดประโยชน์ เป็นบุญเป็นกุศล แต่ถ้าหากการเผยแพร่ การแสดงความเห็น ผิดแผกไปจากแนวทางแห่งวัตถุประสงค์ น้อมนำผู้อ่านไปในแนวทางอื่น ที่ไม่เป็นไปเพื่อบุญกุศล เพื่อการสละ ละ วาง หรือยกระดับจิต ก็จะผิดวัตถุประสงค์ อีกทั้งยังอาจให้ผู้เข้ามารับรู้รับทราบนั้นเข้าใจแนวทางขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์ผิดไป ก็จะเป็นการก้าวล่วงต่อองค์ท่าน อันจะก่อให้เกิดกรรมต่อหลายฝ่ายทั้งผู้เข้ามาอ่าน ผู้แสดงความเห็น รวมถึงตัวกระผมผู้ก่อตั้งบอร์ดแห่งนี้ ซึ่งในระยะหลังๆมานี้มักปรากฏว่าไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ก็จะยิ่งพากันหลงทาง เสียหายกันไปใหญ่

จึงมีแนวความคิดที่จะ "ปิด" กระทู้หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิต ภายในวันที่ 30 เม.ย. 55 (วันนี้) จึงได้ตั้งเว็ปบอร์ด (กระทู้) ใหม่ขึ้น มีมงคลนามที่มอบให้โดยองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ว่า พุทธภูมิ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ธรรมะ กระผมขออนุญาตเติมไปอีกประโยคคือ "องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช" รวมเป็น พุทธภูมิ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ธรรมะ องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบอกเล่าเรื่องราว พุทธภูมิ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ธรรมะ และความอัศจรรย์องค์พ่อแม่ครูอาจารย์โดยเฉพาะ อาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่พิเศษ เปรียบเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของพุทธสถานภูดานไหจริงๆ เลยอยากเห็นภาพหรือการสื่อสารออกมาถึงความงดงามในธรรมจริงๆ

ที่ผ่านมากระทู้แห่งนี้ ได้ร้อยเรียงเรื่องราวต่างๆก็มากมาย ได้สร้างคุณประโยชน์ต่อพระศาสนามาก็มหาศาล พลอยระลึกนึกถึงคุณของบอร์ดหลวงปู่แหวนมาโปรดฯ ที่ได้นำพาให้พวกเรามีวันนี้ร่วมกัน กระผม (โดยได้รับคำแนะนำจากผู้ใหญ่บางท่าน) จักขอพิจารณาไปสักระยะ เพื่อดูการดำเนินก้าวไปของบอร์ดว่า เป็นอันหนึ่งแนวทางเดียวกันหรือเปล่า ยังเป็นลักษณะการบอกสอนจากภูมิธรรมอันยังเคลือบแฝงด้วยอัตตาของแด่ละบุคคล ไม่ใช่ประสพการณ์ที่นำเล่าสู่กันฟัง ซึ่งอาจนำพาผู้อื่นคล้อยตามให้เกิดความเห็นที่เบี่ยงเบนไปจากมรรควิถีแห่งธรรม หรือเป็นการเขียนเอาตามอารมณ์ซึ่งไม่เป็นไปโดยธรรมจนไปกระเทือนบุคคลอื่น หากยังคงเป็นอยู่ในลักษณะดังกล่าว ก็จักขอถือโอกาสนี้ "บอกลาและปิดบอร์ดฯ" เมื่อถึงกาลอันควร

ท้ายนี้ กระผมขอกราบขอบพระคุณพื้นที่ของเว็ปพลังจิต , เพื่อนนักรบธรรมและญาติธรรมทั้งหลาย ที่ให้ความร่วมมือ ขอให้ท่านพบแต่ความสุขความเจริญฯ
หวังว่าคงได้ศึกษาธรรมะร่วมกัน เพื่อความเจริญงอกงามในทางธรรม สืบสานพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองต่อไป

พุทธภูมิ อิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ ธรรมะ องค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช
นรธ.สมบัติ เพ็งพล (IT Man)
30 เมษายน 2555
................................................................................................
บอร์ดหลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิตฝัน เป็นสถานที่หนึ่งที่น้อมนำให้หลายท่านได้มารู้จักและพบปะพูดคุย จนถึงพบเจอรู้จักคุ้นเคยกัน จากคนที่อยู่ต่างที่ต่างถิ่นแต่ความนิยมชมชอบ จริตที่คล้ายๆกันจะเปรียบเป็นวงกาแฟที่มาพูดคุยแลกเปลี่ยนสารพันเรื่องราวกันหรือจะเปรียบเสมือนลานธรรมเพื่อการศึกษาธรรมและได้เก็บเกี่ยวสิ่งดีดี จากประสพการณ์ของแต่ละท่านที่มาแลกเปลี่ยนพูดคุยกัน อีกทั้งยังเป็นที่สร้างโอกาส ช่องทางในการสร้างสมบุญกุศลสร้างบุญบารมีร่วมกัน
จึงนับได้ว่าบอร์ดแห่งนี้ได้สร้างคุณประโยชน์
จนถึงได้ยังประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาได้ไม่น้อย
ในความรู้สึกของผมบอร์ดแห่งนี้ถือเป็นส่วน
หนึ่งที่จะต้องช่วยกันดูแลและประคับประคองบ้านหลังนี้ให้เป็นที่พักพิงของพวกเราและผู้เดินทางผ่านมา ด้วยความเคารพเจตนา วัตถุประสงค์ของผู้สร้าง เหมือนเราให้ความเคารพต่อสถานที่ที่เราได้ไปจุดประสงค์ของผู้ก่อตั้งบอร์ดเป็นอย่างไรบางท่านที่เข้ามาในระยะหลัง อาจจะพึ่งได้รับทราบก็เป็นได้ ตามที่ผู้ก่อตั้งได้เล็งเห็นว่า ควรจำแนกแยกแยะหมวดหมู่เรื่องราวออกไปในกระทู้ที่จะให้พวกเราได้ไปพูดคุยกันในแต่ละเรื่องราว ในความคิดผมก็เห็นว่าเป็นแนวทางที่ดี ไม่ผสมปนเปไปจนไม่รู้ทิศทางของบอร์ด เรียกว่าจะคุยกันอย่างถูกที่ถูกทาง ตรงประเด็นและถูกวัตถุประสงค์
ผมคะเนว่า หลักใหญ่ใจความในมูลเหตุอันสำคัญ ในการจะจำแนก แยกแยะเรื่องราว แนวทางของบอร์ด ก็เพื่อจะได้ไม่มีส่วนไปกระทบหรือก่อให้เกิดความเข้าใจอย่างผิดๆ จนถึงก้าวล่วงต่อแนวทางขององค์พ่อแม่ครูอาจารย์ ผู้เป็น
เสมือนศูนย์รวมจิตวิญญานของเหล่านักรบธรรม ก็เป็นความละเอียดรอบคอบอย่างหนึ่งครับ
นี้เป็นความเห็นในส่วนของผม สำหรับความเห็นของท่านอื่น ก็คงให้หลายท่านได้แสดงความคิดความเห็นกัน
แต่ในท้ายที่สุด อะไรจะเป็นไปอย่างไร มันก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ตามสภาวะธรรมแห่งการเกิดขึ้น ตั้งอยู่
และดับไป เช่นนั้นเอง
เราต่างพยายามทำในสิ่งที่คิดว่าดีที่สุด ตามสามัญสำนึกและสติปัญญาเท่าที่เรามีอยู่

ภูเบศว์

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

113: วิหารหมื่นพุทธ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์

ภาพสวยๆจาก วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์
คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ บางบัวทอง นนทบุรี
วิหารหมื่นพุทธ

องค์พระประธานสามองค์ อยู่ในพระอุโบสถ จากซ้ายคือ...

พระอมิตาภพุทธเจ้า พระศากยมุนีพุทธเจ้า พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์พุทธเจ้า

ณ. วิหารสุขาวดีหมื่นพุทธ

112: พระโพธิสัตว์ วิหารจตุโลกบาล วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์

ภาพสวยๆจาก วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์
คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ บางบัวทอง นนทบุรี
พระโพธิสัตว์ วิหารจตุโลกบาล

พระศรีอริยเมตไตรยโพธิสัตว์

พระกวนอิมโพธิสัตว์

พระสกันทโพธิสัตว์

พระสกันทโพธิสัตว์(SKANDA BODHISATTVA)
หรือ เหวยถวอผูซ่า (韦陀菩萨) ในสำเนียงแต้จิ๋วนิยมเรียกว่า “อุ่ยท้อผ่อสัก”

มีคำเรียกพระนามเต็มของพระองค์ว่า หู้ฝ่าเหวยถวอผูซ่า (护法韦陀菩萨) หมายถึง พระโพธิสัตว์ผู้พิทักษ์ปกป้องพระธรรมแห่งพุทธศาสนา

นอกจากนี้ ยังมีผู้นิยมเรียกท่านในอีกชื่อหนึ่งว่า พระเวทโพธิสัตว์ พระสกันทโพธิสัตว์ เป็นมหาเทพสำคัญอีกองค์หนึ่งที่หลายคนเคยเห็นมาแล้ว แต่กลับมีผู้ที่ทราบความหมายและที่มาของท่านไม่มากนัก พระสกันทโพธิสัตว์มีหน้าที่เฝ้าอารักขาพระพุทธศาสนา ซึ่งจะสามารถแลเห็นท่านได้เมื่อพุทธศาสนิกชนเข้าสู่บริเวณตัววัด เพราะภายในวัดทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานนั้น วิหารต้นจะอยู่เบื้องหน้า ภายในนั้น จะมีองค์พระเมตไตรยโพธิสัตว์เป็นองค์ประธาน

ด้านข้างเรียงรายด้วยท้าวจตุโลกบาล และก่อนที่จะก้าวผ่านวิหารต้นนั้น ด้านหลังขององค์พระอาริยเมตไตรยจะประทับยืนไว้ด้วยพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง นั้นก็คือ “พระสกันทโพธิสัตว์” หรือ “เหวยถวอผูซ่า”(อุ่ยท้อผ่อสัก)

พระนามของพระสกันทโพธิสัตว์นั้น
มีความหมายว่า ผู้มีอานุภาพสนองคุณและพิทักษ์ปกป้องพระพุทธศาสนา

ดังนั้น จะเห็นว่า พระสกันทโพธิสัตว์จะแต่งกายด้วยชุดของนักรบขุนศึกจีนสวมชุดเกราะสีทองอย่างงดงามอร่ามตา สีหน้าและแววตาเข้มแข็ง บุคลิกท่วงท่าอาจสง่างามส่วนใหญ่จะสร้างอยู่ในลักษณะประทับยืน พระหัตถ์ซ้ายจับด้ามกระบี่ปักลงค้ำยันกับพื้น พระหัตถ์ขวาเท้าสะเอวอย่างผึ่งผาย

ตำนานเกี่ยวกับที่มาขององค์พระสกันทโพธิสัตว์ บ้างกล่าวว่า ท่านก็คือ “พระขันธกุมาร” ผู้เป็นโอรสของพระอิศวรแห่งศาสนาฮินดู  จึงมีฐานะเป็นดั่งเทพองค์หนึ่งของชาวอินเดียแต่ภายหลังได้ทรงเปลี่ยนพระทัยหันมานับถือพระพุทธศาสนาโดยปวารณาตัวเป็นพุทธมามกะ แต่เนื่องจากท่านมีฐานะอันสูงส่ง และเป็นเทพอยู่แล้ว
ดังนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงโปรดให้ท่านช่วยดูแลและรักษาพระพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป
เพราะหน้าที่อื่น ๆ นั้นมีปวงเทพหลายองค์อยู่แล้ว การพิทักษ์พระศาสนาจึงเป็นภาระอันยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่ง ทำให้พระสกันทโพธิสัตว์จึงต้องสวมชุดขุนศึกและเตรียมพร้อมรบอยู่ตลอดเวลา

นอกจากนี้ บางตำนานยังกล่าวว่า เดิมทีนั้น ท่านเป็นบุตรของพราหมณ์ที่มีฐานะสกุลวงศ์ชั้นสูง แต่เมื่อได้ฟังพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ ก็บังเกิดจิตเลื่อมใส แต่ติดขัดที่เป็นชนชั้นพราหมณ์จึงไม่อาจโกนศรีษะได้
ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงโปรดให้ท่านทำหน้าที่ในการเฝ้าอารักขาคุ้มครองพระพุทธศาสนาสืบแทน เพื่อให้วัดวาอารามทั้งหมด ไม่ว่าจะสร้างขึ้นเมื่อใดให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย

111: ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์

ภาพสวยๆจาก วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์
คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ บางบัวทอง นนทบุรี
ท่านท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ วิหารจตุโลกบาล

ท้าวเวสฺสวณมหาราช (กุเวร) ผู้สดับในสรรพสิ่ง/โลกบาลประจำทิศเหนือ

ท้าววิรุฬหกมหาราช (ผู้พิทักษ์ขุมทรัพย์/โลกบาลประจำทิศใต้)

ท้าววิรูปักษ์มหาราช (ผู้แลเห็นสรรพสิ่ง/โลกบาลประจำทิศตะวันตก)

ท้าวธตรัธมหาราช (ผู้ดูแลแผ่นดิน/โลกบาลประจำทิศตะวันออก)

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

110: ประมูลพระพุทธปฐวีธาตุ เพื่อร่วมบุญฯกับองค์พ่อแม่ครูอาจารย์

ประมูลพระพุทธปฐวีธาตุ เพื่อร่วมบุญฯกับองค์พ่อแม่ครูอาจารย์ พ.สุรเตโช
::: ในวาระสรงน้ำองค์พระในภูดานไห (สงกรานต์ปี 2555) :::

เนื่องจากวันนี้เป็นวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 5 ปีนักษัตรที่ 5 (มะโรง)
จึงขออนุญาตนำเสนอรายการประมูลดังนี้
1. พระพุทธปฐวีธาตุองค์ที่ 1 : ประมูลเริ่มต้นที่ 5,555 บาท
2. พระพุทธปฐวีธาตุองค์ที่ 2 : ประมูลเริ่มต้นที่ 4,555 บาท
3. พระพุทธปฐวีธาตุองค์ที่ 3 : ประมูลเริ่มต้นที่ 3,555 บาท
(ทุกรายการจะพิจารณามอบพระพิมพ์สายวังฯให้ 1 องค์)

เริ่มประมูลร่วมบุญฯระหว่างวันที่ : 6 เม.ย. 55 สิ้นสุด 15 เม.ย. 55 (เวลาพลังจิต 09:05)
โดยการประมูลผ่าน 4 ช่องทางคือ
1. ผ่านเวปบอร์ด : หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิต
2. ผ่านทาง e-mail : it.man@hotmail.co.th
3. ผ่านทางเบอร์มือถือ : 087 683 2992
4. ผ่าน PM : IT Man

โอนปัจจัยร่วมบุญหลังทราบผลการประมูลที่:
ชื่อบัญชี : นางบุญชม ยางธิสาร
เลขที่บัญชี: 4160396194
ธนาคาร : กรุงไทย สาขากุฉินารายณ์
ประเภทบัญชี : ออมทรัพย์

รับพระพุทธปฐวีธาตุหลังวันที่ : 20 เม.ย.55
ขอกราบขอบพระคุณและโมทนาสาธุในบุญกุศลนี้ทุกประการ
IT Man/06.04.55
ภาพรายการพระพุทธปฐวีธาตุเรียงตามลำดับดังนี้




วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

109: พระโมคคัลลานะ-พระสารีบุตร



โลหิตธาตุของพระโมคคัลลานเถระ : เป็นพระอสีติมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะในด้านผู้มีฤทธิ์
พระโมคคัลลานะ เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย
คู่กับพระสารีบุตร ผู้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา

พระธาตุส่วนศรีษะของพระสารีบุตรเถระ : พระอัครสาวกเบื้องขวาผู้เป็นเลิศด้านสติปัญญา
พระสารีบุตร (สันสกฤต: Sariputra) หรือพระสารีบุตต์ (บาลี: Sariputta) เป็นชื่อของพระภิกษุรูปหนึ่งในพุทธศาสนา
มีชีวิตอยู่ในพุทธกาลโดยเป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า
ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าพระสงฆ์ทั้งปวงในด้านสติปัญญา
นอกจากนี้ พระสารีบุตรยังมีคุณธรรมในด้านความกตัญญู
และการบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนาอีกด้วย
จึงมีคำยกย่องภิกษุรูปนี้ว่าเป็น "ธรรมเสนาบดี" คู่กับพระพุทธเจ้าที่เป็น "ธรรมราชา"

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

108: วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า 31 มี.ค.

วันนี้กระผมได้บำเพ็ญกุศลภาวนา ทั้งภาคเช้าและภาคเย็น
เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (องค์รัชกาลที่ 3)
ข้าพระพุทธเจ้าขอพระบรมพุทธานุญาตอันเชิญบุญกุศลที่บำเพ็ญเพียรมาทุกภพทุกชาติทุกกัปพุทธันดร
ขอนอบน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์พระบูรพามหากษัตริย์เจ้าของปวงชนชาวไทยทั้งหลาย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
IT Man
31 มีนาคม 2555
------------------------------------------------
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบรมนามาภิไธย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฏาราชเจ้า
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367
ระยะครองราชย์ 27 ปี
รัชกาลก่อนหน้า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดประจำรัชกาล วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330
สวรรคต 2 เมษายน พ.ศ. 2394
พระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระราชมารดา กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย
พระราชโอรส/ธิดา 51 พระองค์


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฏาราชเจ้า[1] พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระนามเดิมว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์" หรือ "พระองค์ชายทับ" ( 31 มีนาคม พ.ศ. 23302 เมษายน พ.ศ. 2394)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 นาฬิกา (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 ซึ่งภายหลังพระราชชนนีได้รับการสถาปนาเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระองค์เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 รวมสิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี
ทรงมีเจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม 5 พระองค์ มีพระราชโอรส-ราชธิดา ทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 รวมพระชนมพรรษา 64 พรรษา



เนื้อหา [ซ่อน]
[แก้] พระนามเต็ม


ตราพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 3 รูปปราสาท สอดคล้องกับพระนามเดิม "ทับ" ผูกตรานี้ขึ้นในวโรกาสกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระนามเต็มว่า "สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวไสย สมุทัยดโรมน สากลจักรวาลาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาธิบดี ศรีสุวิบูลย คุณอถพิษฐ ฤทธิราเมศวร ธรรมิกราชาธิราช เดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชษฐวิสุทธิ มงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว"
[แก้] พระราชประวัติ

เมื่อครั้งที่ทรงกำกับราชการกรมท่า (ในสมัยรัชกาลที่ 2) ได้ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดาทรงเรียกพระองค์ว่า "เจ้าสัว" เมื่อรัชกาลที่ 2 เสด็จสวรรคต มิได้ตรัสมอบราชสมบัติแก่ผู้ใด ขุนนางและพระราชวงศ์ต่างมีความเห็นว่าพระองค์ (ขณะทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์) ขณะนั้นมีพระชนมายุ 37 พรรษา ทรงรอบรู้กิจการบ้านเมืองดี ทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้าและการปกครอง จึงพร้อมใจกันอัญเชิญครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 3
[แก้] พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา

พระมเหสี เจ้าจอม พระราชโอรส และ พระราชธิดา ในรัชกาลที่ 3
[แก้] พระราชกรณียกิจ

พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล
[แก้] การคมนาคม

ในรัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย คลองจึงมีความสำคัญมากในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จึงโปรดฯให้มีการขุดคลองขึ้น เช่น คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และ คลองหมาหอน
[แก้] การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น พระประธานในอุโบสถวัดสุทัศน์ วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายกและวัดนางนอง ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น 3 วัด คือ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดเทพธิดารามและวัดราชนัดดาราม ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดเก่าอีก 35 วัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 วัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม เป็นต้น
[แก้] การศึกษา

ทรงทำนุบำรุง และ สนับสนุนการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่งคือ หนังสือจินดามณี โปรดเกล้าฯ ให้ผู้รู้นำตำราต่างๆ มาจารึกลงในศิลาตามศาลารอบพุทธาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ปั้นตึ้งไว้ตามเขามอและเขียนไว้ตามฝาผนังต่างๆ มีทั้งอักษรศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ พุทธศาสตร์ โบราณคดี ฯลฯ เพื่อเป็นการเผยแพร่วิชาการสาขาต่างๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรุงสยาม
[แก้] ด้านความเป็นอยู่

พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ด้วยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ไม่ทรงสามารถจะบำบัดทุกข์ให้ราษฎรได้ หากไม่เสด็จออกนอกพระราชวัง เพราะราษฎรจะร้องถวายฏกาได้ต่อเมื่อพระคลังเวลาเสด็จออกนอกพระราชวังเท่านั้น จึงโปรดให้นำกลองวินิจฉัยเภรีออกตั้ง ณ ทิมดาบกรมวัง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อราษฎรผู้มีทุกข์จะได้ตีกลองร้องถวายฏีกาไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป โดยพระองค์จะคอยซักถามอยู่เนื่องๆ ทำให้ตุลาการ ผู้ทำการพิพากษาไม่อาจพลิกแพลงคดีเป็นอื่นได้
ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีศาสนาจารย์และนายแพทย์ชาวอเมริกันและอังกฤษเดินทางเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้คือศาสนาจารย์ แดน บีช บรัดเลย์ เอ็ม.ดี. หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนามของ หมอบรัดเลย์ ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น (ปี พ.ศ. 2379) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็นภาษาไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2339 ต่อมาปี พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลย์ได้ออกหนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคดี ข่าวราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387
หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขายและผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. กระต่าย อิสรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ในราคา 400 บาท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 และตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404
[แก้] เหตุการณ์สำคัญ
  • การค้าขายกับต่างประเทศและการเก็บอากรต่างๆ
  • เกิดสุริยุปราคาถึง 5 ครั้ง
  • พ.ศ. 2367 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
    • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต ขณะมีพระชนมายุได้ 57 พรรษา ครองราชย์ได้ 15 ปี
    • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี
    • โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมจัดพิธีอุปราชาภิเษก ให้พระองค์เจ้าอรุโณทัยขึ้นเป็นที่ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระมหาอุปราชเจ้า
    • โปรดเกล้าฯ ให้ส่งกองทัพไทยไปช่วยอังกฤษรบพม่า
  • พ.ศ. 2368 เฮนรี เบอร์นี ขอเข้ามาทำสัญญาค้าขาย
  • พ.ศ. 2369 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้:
    • ลงนามในสัญญา เบอร์นี
    • เจ้าอนุวงศ์เป็นกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมพระราชวังบวรฯ เป็นแม่ทัพใหญ่ยกไปปราบ กำเนิดวีรกรรมท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพหน้าเป็นเจ้าพระราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก
  • พ.ศ. 2370 เริ่มสร้างพระสมุทรเจดีย์
  • พ.ศ. 2371 ร้อยเอกเจมส์โลว์ จัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรก มิชชันนารีอเมริกันเดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในเมืองไทย
  • พ.ศ. 2372 เจ้าพระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนี) จับเจ้าอนุวงศ์ จัดส่งลงมากรุงเทพฯ ได้โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็น เจ้าพระยาบดินทรเดชา ที่สมุหนายก
    • กำเนิดสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
    • โปรดเกล้าให้ทำการสังคายนาเป็นภาษาไทย
    • ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือวัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดา วัดเฉลิมพระเกียรติ และวัดพระเชตุพนฯลฯได้ตั้งโรงเรียนหลวง (วัดพระเชตุพน) ขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ และได้ถือกำเนิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372 ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ
  • พ.ศ. 2373พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งให้เจ้าพระยาพระคลัง(ดิศ)เป็นว่าที่สมุหกลาโหม
  • พ.ศ. 2374
  • พ.ศ. 2375 ประธานาธิบดีแจคสัน แห่งสหรัฐอเมริกา ส่งเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เข้ามาขอเจริญพระราชไมตรีทำการค้ากับไทย
  • พ.ศ. 2376 ญวนเกิดกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพใหญ่ผู้สำเร็จราชการไปรบกับญวน
  • พ.ศ. 2377
    • ออกหวย ก.ข. เป็นครั้งแรก
    • ญวนได้ส่งพระอุไทยราชามาปกครองเขมร
  • พ.ศ. 2378 เกิดภาวะเงินฝืดเคือง
  • พ.ศ. 2380 หมอบรัดเลย์ คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นใหม่ โปรดเกล้าฯ ให้หมอหลวงไปหัดปลูกฝีกับหมอบรัดเลย์
  • พ.ศ. 2381 เกิดกบฏหวันหมาดหลี ที่หัวเมืองไทรบุรี
  • พ.ศ. 2382 ทรงประกาศห้ามสูบฝิ่น เพื่อส่งเสริมศีลธรรมในบ้านเมือง และ มีการเผาฝิ่น และ โรงยา ฝิ่น พร้อม มีการปราบอั้งอั้งยี่ซึ่งค้าฝิ่น เหล่านั้น
  • พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์ พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
  • พ.ศ. 2386 เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงขึ้นในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2386 แนวคราสมืดพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง กรุงเทพฯเห็นเป็นชนิดบางส่วน 82%
  • พ.ศ. 2389 ญวนขอหย่าทัพกับเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโลหะปราสาทวัดราชนัดดาราม
  • พ.ศ. 2390 ทรงอภิเษกให้ นักองค์ด้วง เป็น สมเด็จพระหริรักษ์รามาธิบดี ครองกรุงกัมพูชา
  • พ.ศ. 2391 ญวนขอเจริญพระราชไมตรีดังเดิม กองทัพเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กลับกรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2392 มีเหตุการณ์สำคัญดังนี้
  • พ.ศ. 2393 อังกฤษ และสหรัฐฯ ขอแก้สนธิสัญญา
  • พ.ศ. 2394 เสด็จสวรรคต เมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2394รวมพระชนมายุได้ 64 พรรษา ดำรงอยู่ในราชสมบัติ 27 ปี
[แก้] วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า

คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันที่ 31 มีนาคมของทุกปีเป็น วันระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า หรือ วันเจษฎาบดินทร์ เป็นวันสำคัญของชาติ แต่ไม่ถือเป็นวันหยุดราชการ และเห็นชอบให้ให้ถวายพระราชสมัญญาว่า “ พระมหาเจษฎาราชเจ้า ” แปลว่า “ พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่[2]


วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาเจษฎาราชเจ้า 31 มีนาคม
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอูย่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า รัชกาลที่ 3 แห่งพระบรมราชจักรวงศ์ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาเรียม ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็น สมเด็จพระศรีสุลาลัยเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2330 ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี ทรงสวรรคต เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2394 รวมพระชนมายุ 63 พรรษา กับ 11 วัน เสด็จดำรงในสิริราชสมบัติ 25 ปี 7 เดือน 23 วัน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้าชายทับ พระองค์ได้ปฎิบัติราชการแผ่นดินดั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งขณะนั้นสมเด็จพระบรมชนกนาถ ยังทรงดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระองค์ทรงได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการในตำแหน่งสำคัญๆ สืบมา
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพทธเลิศหล้านภาลัย ใน พ.ศ.2356 เมื่อพระชนพรรษาได้ 26 พรรษา ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าต่างกรม ทรงพระนามว่าพระเจ้าลูกเธอกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ โดยทรงได้รับการไว้างใจพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระบรมชนกนาถ ให้ทรงกำกับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจว่าความฎีกา นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการต่างพระเนตรพระกรรณด้วย

ทางราชการถือเป็นวันสำคัญของชาติ เพื่อให้รัฐบาล และประชาชนชาวไทยได้รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงมีต่อราษฎรและแผ่นดินไทย พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร์พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยแห่งการครองราชย์นั้นทรงปกครองบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุขและพัฒนาให้ชาติไทย มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้านรวมทั้งด้านการเมือง การทหาร ที่ทรงทำนุบำรุง และสามารถรักษาความเป็นชาติอธิปไตยไว้ได้ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตล่วงเลยมา 43 ปี พระองค์ก็ยังได้โปรดพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ "เงินถุงแดง" ไว้เพื่อประโยชน์แก่แผ่นดิน และเงินจำนวนนี้สามารถใช้กอบกู้เอกราชในดินแดนบางส่วนและรักษาอำนาจอธิปไตยไว้ได้จนทุกวันนี้ ประชาชนชาวไทยและรัฐบาลจึงพร้อมใจกันประดิษฐานพระราชานุสาวรีย์ ณ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์หน้าวัดราชนัดดาราม ในปี พ.ศ.2541 ทางราชการได้มีการถวายพระราชสมัญญาว่า "พระมหาเจษฎาราชเจ้า" และได้ไช้ชื่อวันงานใหม่ว่า "วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า"