วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

97: ตำนานธารพระกรแก้ว ของสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน

ตำนานธารพระกรแก้ว ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
และการบังเกิดแห่งธารพระกรแก้ว และผ้าบังสกุล
พระครูสิทธิสังวร (วีระ)รวบรวม เรียบเรียง

ครั้งหนึ่ง พระบรมศาสดา เสด็จอยู่ในสำนักอุรุเวลกัสสปะ เพื่อคลายทิฏฐิ ครั้งนั้นได้มีบุรุษ นำเอาศพของนางปุณณะทาสีมาทิ้งไว้ที่อามสุสาน ป่าช้าผีดิบ ในป่าอุรุเวลา เสนานิคม ครั้งนั้น พระบรมศาสดาทรงดำริที่จะ ทำผ้าสังฆาฏิ ลำดับนั้น ท้าวสักกะเทวราช ทรงทราบความดำริ ใน พระทัย ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยพระทัย ของพระองค์แล้วจึงทรงนำไม้ธาร พระกรไผ่ยอดตาล จากดงไผ่ยอดตาล ออกมาจากป่าใกล้สำนักอุรุเวล- กัสสปแล้วได้ทูลพระบรมศาสดาว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ขอถวายไม้ ธารพระกรแก้ว ไผ่ยอดตาลนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อใช้พิจารณาผ้า มหาบังสุกุลพระบรมศาสดาได้ไม้ธารพระกรแล้ว ทรงเสด็จไปยังอามสุสานป่าช้าผีดิบ อันเป็นที่ทิ้งศพนางปุณณะทาสี เป็นเวลา ๗ วันแล้วที่ศพนางปุณณะทาสีอยู่ในอามสุสาน ป่าช้าผีดิบนี้ ศพนั้นเน่าแฟะแล้ว คลาคล่ำไปด้วยหมู่หนอน ส่งกลิ่นเหม็นตลบ เมื่อพระบรมศาสดาถึงป่าช้าผีดิบ พระบรมศาสดาทรงเข้าไปประทับยืนใกล้ศพนางปุณณะทาสี พระหัตถ์ซ้ายของพระบรมศาสดา ถือไม้ธารพระกรแก้ว ไผ่ยอดตาลปลายไม้ธารพระกรแก้ว ยืดยาวไปยันศพนางปุณณะทาสี พระหัตถ์ขวาของพระบรมศาสดายื่นไปข้างหน้าทรงพิจารณาอสุภสัญญาแล้วทรงชักผ้ามหาบังสุกุล ขณะนั้นมหาปฐพีได้ไหวถึงน้ำลองแผ่นดิน พระบรมศาสดา ทรงถือเอาผ้า ที่เขาคลุมร่างนางปุณณะทาสี ที่เขาทิ้งแล้ว มาเป็นผ้ามหาบังสุกุล พระบรมศาสดา ทรงสลัดสัตว์เล็กๆ ประมาณหนึ่งตุมพะ แล้วทรงถือเอาผ้ามหาบังสุกุลออกมาจากป่าช้า ทรงทำกิจที่ทำได้ยากแล้ว แต่นั้นมาอามสุสาน ป่าช้าผีดิบ ป่าอุรุเวลาเสนานิคม ก็ไม่มีผู้ใดนำเอา ซากศพไปทิ้งอีก ด้วยเหล่าเทวดา และเหล่านาคปิดบัง คุ้มครองสถานที่นี้ไว้ เพราะไม่สมควรที่จะทิ้งซากศพใครอีก เนื่องจากเป็นภูมิสถานมงคล อันสมควรแก่ พระศาสดาเท่านั้น บรรดาวิญญาณ ที่อยู่ในป่าช้าผีดิบ ทั้งปวง เมื่อพระศาสดา ทรงพิจารณา ผ้ามหาบังสุกุลแล้ว ต่างก็พากันไปจุติในสุคติภูมิกันทั้งสิ้น

ภาพธารพระกรแก้ว (ไม้เท้าพระพุทธเจ้า)
ณ พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน วัดพลับ

ตำนานธารพระกรของ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร
พระครูสิทธิสังวร (วีระ ) รวบรวม เรียบเรียง

ตำนานธารพระกร ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) สืบทอดมาแต่องค์ต้น กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ฝ่ายเถรวาทซึ่งถือตามคติที่พระอรหันต์พุทธสาวก ที่ได้วางหลักพระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติเป็นแบบแผนไว้ เมื่อครั้งปฐมสังคายนา และนับถือแพร่หลายในประเทศ ไทย พม่า ลังกา ลาว และกัมพูชา คือพระราหุลเถรเจ้า นับเป็นบริโภคเจดีย์ ของสำคัญทางพระพุทธศาสนา ฝ่ายหินยาน แบบเถรวาทที่สืบทอดผ่านยุค ผ่านสมัย มาหลายยุคตั้งแต่ยุดพุทธกาล มาลังกาทวีป มายุคศรีทวารวดีมาสู่ยุค สุโขทัย ยุคอยุธยา และมาถึงยุครัตนโกสินทร์

ข้าพเจ้าเห็นว่าถ้าไม่พิมพ์ตำนาน ไม้ธารพระกร ไผ่ยอดตาลออกไป คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาก็จะเสื่อมศูนย์ไป และหายไปจากความทรงจำในที่สุด ตำนานธารพระกรของสมเด็จพระสังฆราช (สุกไก่เถื่อน) สืบทอดมาจากพระราหุลเถรเจ้า องค์ต้นกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ แบบหินยานฝ่ายเถรวาท
ภาพธารพระกร ของสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
และธารพระกร คู่พระบารมี คู่พระกรรมฐาน เกิดแก่ท่านพระราหุลเถรเจ้า